วันว่างๆของอุ๋ย

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คำสอนดีดี



คำสอนที่ดี มีประโยชน์










































บทความที่มีประโยชน์

4. ประโยชน์ของมัลติมิเดีย


              แนวทางการนำมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้งานกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีหลายรูปแบบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้งาน ตัวอย่างเช่น สื่อมัลติมีเดียที่ผลิตเป็นบทเรียนสำเร็จรูป (CD-ROMPackage) สำหรับกลุ่มผู้ใช้ในแวดวงการศึกษาและฝึกอบรม สื่อมัลติมีเดียที่ผลิตขึ้นเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการ(Product and Services) สำหรับการโฆษณาในแวดวงธุรกิจ เป็นต้น นอกจากจะช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพในการดำเนินงานแล้วยังเป็นการเพิ่มประสิทธิผลให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนอีกด้วย โดยสามารถแยกแยะประโยชน์ที่จะได้รับจากการนำมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้งานได้ดังนี้ง่ายต่อการใช้งาน    โดยส่วนใหญ่เป็นการนำมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้งานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มผล ผลิต ดังนั้นผู้พัฒนาจึงจำเป็นต้องมีการจัดทำให้มีรูปลักษณ์ที่เหมาะสม และง่ายต่อการใช้งานตามแต่กลุ่มเป้าหมายเพื่อประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ตัวอย่างเช่น การใช้งานสื่อมัลติมีเดียโปรแกรมการบัญชี
                สัมผัสได้ถึงความรู้สึก    สิ่งสำคัญของการนำมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้งานก็คือ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถรับรู้ได้ถึงความรู้สึกจากการสัมผัสกับวัตถุที่ปรากฎอยู่บนจอภาพ ได้แก่ รูปภาพ ไอคอน ปุ่มและตัวอักษร เป็นต้น ทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมและเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างทั่วถึงตามความต้องการ ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้คลิกที่ปุ่มPlay เพื่อชมวิดีโอและฟังเสียงหรือแม้แต่ผู้ใช้คลิกเลือกที่รูปภาพหรือตัวอักษรเพื่อเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ เป็นต้น
สร้างเสริมประสบการณ์   การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้านมัลติมีเดีย แม้ว่าจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันตามแต่ละวิธีการ แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้จะได้รับก็คือ การสั่งสมประสบการณ์จากการใช้สื่อเหล่านี้ในแง่มุมที่แตกต่างกันซึ่งจะทำให้สามารถเข้าถึงวิธีการใช้งานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ได้เคยเรียนรู้วิธีการใช้ปุ่มต่างๆ เพื่อเล่นเกมส์บนคอมพิวเตอร์มาก่อน และเมื่อได้มาสัมผัสเกมส์ออนไลน์ใหม่ๆก็สามารถเล่นเกมส์ออนไลน์ได้อย่างไม่ติดขัด
เพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้สืบเนื่องจากระดับขีดความสามารถของผู้ใช้แต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับการสั่งสมมา ดังนั้น การนำสื่อมัลติมีเดียมประยุกต์ใช้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตัวอย่างเช่น การเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะในการเล่นจากระดับที่ง่ายไปยังระดับที่ยากยิ่งๆ ขึ้นไป

เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น   ด้วยคุณลักษณะขององค์ประกอบของมัลติมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นข้อความหรือตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงและวิดีโอ สามารถที่จะสื่อความหมายและเรื่องราวต่างๆ ได้แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการนำเสนอ กล่าวคือ หากเลือกใช้ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว การสื่อความหมายย่อมจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการเลือกใช้ข้อความหรือตัวอักษร ในทำนองเดียวกัน หากเลือกใช้วิดีโอ การสื่อความหมายย่อมจะดีกว่าเลือกใช้ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว ดังนั้น ในการผลิตสื่อ ผู้พัฒนาจำเป็นต้องพิจารณาคุณลักษณะให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะนำเสนอ ตัวอย่างเช่น การผสมผสานองค์ประกอบของมัลติมีเดียเพื่อบรรยายบทเรียน
คุ้มค่าในการลงทุน  การใช้โปรแกรมด้านมัลติมีเดียจะช่วยลดระยะเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเดินทาง การจัดหาวิทยากร การจัดหาสถานที่ การบริหารตารางเวลาและการเผยแพร่ช่องทางเพื่อนำเสนอสื่อ เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ในกรณีที่ได้หักค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนไปแล้วก็จะส่งผลให้ได้รับผลตอบแทนความคุ้มค่าในการลงทุนในระยะเวลาที่เหมาะสม
เพิ่มประสิทธิผลในการเรียนรู้  การสร้างสรรค์ชิ้นงานด้านมัลติมีเดียจำเป็นต้องถ่ายทอดจินตนาการจากสิ่งที่ยากให้เป็นสิ่งที่ง่ายต่อการรับรู้และเข้าใจด้วยกรรมวิธีต่างๆ นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานแล้ว ผู้ใช้ยังได้รับประโยชน์และเพลิดเพลินในการเรียนรู้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้(User)ออกแบบและสร้างเว็บเพ็จ (Web Page) ด้วยโปรแกรมแม็คโครมีเดีย ดรีมวิเวอร์ (Macromedia Dreamweaver ) หรือ
ผู้ใช้กำลังศึกษาสารคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
                    สรุปได้ว่า คำว่า มัลติมีเดียมีความหมายที่ค่อนข้างกว้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ที่สนใจ อย่างไรก็ตามกระแสนิยมด้านมัลติมีเดียมักจะนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งานร่วมด้วย เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีขีดความสามารถในการผลิตสื่อได้หลากหลายรูปแบบ รวมทั้งยังสามารถนำเสนอและติดต่อสื่อสารได้อีกด้วย สำหรับในที่นี้คำว่า มัลติมีเดียหมายถึง การนำองค์ประกอบของสื่อชนิดต่างๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย ตัวอักษร(Text) ภาพนิ่ง (Still Image) ภาพเคลื่อนไหว(Animation) เสียง (Sound) และวิดีโอ (Video) โดยผ่านกระบวนการทางระบบคอมพิวเตอร์เพื่อ
สื่อความหมายกับผู้ใช้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) และได้บรรลุผลตรงตาม
วัตถุประสงค์การใช้งาน ในส่วนของแต่ละองค์ประกอบของมัลติมีเดียทั้ง 5 ชนิดจะมีทั้งข้อดี-


       ข้อเสีย

แตกต่างกันไปตามคุณลักษณะและวิธีการใช้งาน สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับจากมัลติมีเดียมีมากมาย 
นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานแล้ว ยังเพิ่มประสิทธิผลของความคุ้มค่าในการลงทุน
อีกด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั่นเอง


วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นิทาน ชาดก พ่อค้าผู้รอบรู้

เพิ่มบทความ รูปภาพ และวีดีโอที่มีประโยชน์

1.           บทความเกี่ยวกับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล


บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
ไวโป ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล ในหลวง” ผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา พระองค์แรกของโลก
นายกิตติ วะสีนนท์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2550 องค์การทรัพย์สินทางปัญญาไวโป (WIPO) ได้ออกแถลงข่าวเรื่อง การทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา (WIPO Global Leaders Award) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นนักประดิษฐ์ ทรงมีบทบาทในการส่งเสริมการใช้ทรัพย์สิน ทางปัญญา ทรงประกอบพรราชกรณียกิจเพื่อการพัฒนาชุมชนในชนบทของไทย ให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น กังหันน้ำชัยพัฒนา และเทคโนโลยีการทำฝนเทียม นายกิตติ กล่าวว่าในช่วงที่ผ่านมา กรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมากกว่า 20 รายการ
และเครื่องหมายการค้าอีกจำนวน 19 รายการ สำหรับรางวัลผู้นำโลกทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา
ประกอบด้วยการประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ เหรียญรางวัลอันสะท้อนถึงพระอัจฉริยภาพ และพระวิริยะอันสูงส่งในการทรง เป็นผู้นำ ในการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาในระดับชาติ ภูมิภาค และระหว่างประเทศ ทั้งนี้ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือ ไวโป (WIPO)
ยังไม่เคยมอบรางวัลให้ผู้ใดมาก่อน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระองค์แรกของโลกที่ได้ รับการถวายรางวัลฯ ดังกล่าว

ข่าวจาก โพสต์ทูเดย์ — 29 มกราคม 2550 



2.           ประชาธิปไตยที่ มนุษย์เท่าเทียมกัน

นักปรัชญาชายขอบ
                หากความหมายของประชาธิปไตยคือ อำนาจตัดสินใจทางการเมือง และหรือที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะเป็นของประชาชนความหมายดังกล่าวนี้จะไม่มีทางทำให้เป็นจริงได้หากปราศจากการยอมรับหลักการที่ว่า มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกันแต่หลักการดังกล่าวนี้ดูเหมือนจะขัดแย้งกับข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่ยืนยันว่ามนุษย์นั้นแตกต่างกันอย่างน้อยก็ 2 ด้านใหญ่ๆ คือความแตกต่างด้านชีววิทยา เช่น บางคนเกิดมาสมประกอบ บางคนเกิดมาพิการ บางคนร่างกายอ่อนแอ บางคนแข็งแรง บางคนโง่ บางคนฉลาด ความสามารถในการเรียนรู้ ความคิดความอ่านเป็นต้นของคนเราไม่เท่ากันซึ่งความไม่เท่ากันดังกล่าวนั้นทำให้เกิดความแตกต่างที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ความแตกต่างด้านสังคมวิทยา เช่น ระดับการศึกษา อาชีพ ทรัพย์สิน อำนาจ รสนิยม ชาติตระกูล ความสำเร็จ เกียรติ ชื่อเสียง ยศถาบรรดาศักดิ์ ฯลฯสังคมที่เรียบง่ายในยุคเกษตรกรรมความแตกต่างเหล่านี้อาจมีไม่มากนัก แต่สังคมที่ซับซ้อนเช่นปัจจุบันความแตกต่างดังกล่าวมีมากขึ้น และเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดชนชั้นทางสังคม เช่น คนชั้นสูง คนชั้นกลางระดับสูง คนชั้นกลางระดับกลาง คนชั้นกลางระดับล่าง คนชั้นต่ำหรือชนชั้นรากหญ้าความแตกต่างทางระดับการศึกษา อาชีพ ทรัพย์สิน อำนาจ รสนิยม ฯลฯ ทำให้คนเกาะเกี่ยวสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่นเฉพาะในชนชั้นของตนเองทั้งในด้านการทำงาน กิจกรรมทางสังคม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแบ่งปันทุกข์สุข การพักผ่อน กิจกรรมบันเทิง ฯลฯ และรวมไปถึงการมีส่วนร่วมทางการเมือง หรือการกำหนดประเด็นสาธารณะต่างๆ ด้วยแม้ความแตกต่างทางชนชั้นในปัจจุบันจะไม่ใช่ความแตกต่างที่เข้มข้นเหมือนความแตกต่างภายใต้ระบบศักดินา แต่ก็เป็นความแตกต่างที่สะท้อนให้เห็น ช่องว่างหรือความไม่เป็นธรรมทางสังคมอย่างน่าตกใจ ดังข้อสังเกตของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ที่ว่า
“... ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย  หรือระหว่างคนข้างล่างกับคนข้างบน  คือ  ภาพสะท้อนมหภาคของความไม่เป็นธรรม  เราเป็นคนเหมือนกันควรจะมีศักดิ์ศรีและคุณค่าของความเป็นคนเหมือนกัน   แต่ทำไมจึงแตกต่างกันมากเหลือเกินระหว่างคนข้างล่างที่ปากกัดตีนถีบไม่พอที่จะเลี้ยงลูก  กับคนข้างบนที่อาจมีรายได้เป็นล้านๆ  บาทต่อเดือน  เรามีปัญหาความไม่เป็นธรรมทุกด้าน  ทั้งทางเศรษฐกิจ  ทางสังคม  ทางกฎหมายและการเข้าถึงทรัพยากร  เรารู้หรือไม่ว่ากฎหมายและการประยุกต์ใช้กฎหมายมีอคติต่อคนจน  ความขัดแย้งทั่วแผ่นดินเกิดจากการแย่งชิงทรัพยากรที่รัฐไม่อำนวยความเป็นธรรม”  

ประเด็นคือการเมืองเป็นเรื่องของการต่อรองอำนาจและผลประโยชน์ และหากประชาธิปไตยหมายถึงอำนาจเป็นของประชาชน และเป็นอำนาจบนหลักการที่ว่า มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกันเพราะมีแต่มนุษย์ที่เท่าเทียมกัน (หรือสมาชิกแห่งสังคมที่ยืนยันหลักการ ความเสมอภาค”) เท่านั้นเมื่อมาต่อรองอำนาจและผลประโยชน์กัน ผลลัพธ์ของการแบ่งปันอำนาจและผลประโยชน์จึงจะออกมาอย่างเป็นธรรมฉะนั้น เราไม่อาจจินตนาการถึงสังคมประชาธิปไตยที่แท้จริงซึ่งปฏิเสธหลักการ ความเท่าเทียมของมนุษย์เช่น ถือว่าในสังคมนั้นต้องมีบุคคลพิเศษที่อยู่เหนือมนุษย์อื่นๆ ทั้งในแง่ชาติตระกูล คุณธรรม การมีอภิสิทธิ์ หรืออำนาจที่ไม่มีประชาชนคนใดอาจตั้งคำถาม ตรวจสอบ หรือกำกับให้รับผิดชอบต่อการใช้อำนาจนั้นได้แต่ในสังคมบ้านเรานั้น ไม่จำเป็นต้องใช้จินตนาการเราก็เห็นความเป็นจริงของสังคมที่ไม่อาจจินตนาการถึงนั้นอยู่เต็มตา ทั้งยังเห็นช่องว่างทางชนชั้นทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรมซึ่งนับวันจะถ่างกว้างขึ้นเรื่อยๆ ประชาธิปไตยที่อำนาจของประชาชนอยู่บนพื้นฐานของหลักการความเท่าเทียมของมนุษย์จึงยากจะเป็นไปได้อย่างไรก็ตาม ประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าเราไม่เชื่อย่างลึกซึ้งในหลักการที่ว่า มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน”  แต่จากที่กล่าวมาเราอาจสรุปข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกับหลักการนี้ให้ชัดขึ้น คือ
                1.ความเชื่อร่วมหรืออุดมการณ์ร่วมของสังคม (ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญและวัฒนธรรมตกทอดจากอดีต) ที่ยอมรับอภิสิทธิชนที่อยู่เหนือการตั้งคำถามและการตรวจสอบในทุกรณี เป็นความเชื่อหรืออุดมการณ์ที่ขัดแย้ง เชิงอุดมการณ์ต่อหลักการ มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกันอย่างสิ้นเชิง และนี่จึงเป็นอุปสรรคสำคัญของการเกิดประชาธิปไตยที่ประชาชนทุกคนซึ่งเท่าเทียมกันสามารถต่อรองในเรื่องอำนาจและผลประโยชน์กันได้อย่างยุติธรรม
                2.ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความแตกต่างด้านชีววิทยา สังคมวิทยา หรือปัญหาช่องว่างทางเศรษฐกิจ สังคม ที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม ไม่ใช่ความขัดแย้ง เชิงอุดมการณ์กับหลักการ มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกันเพราะหากไม่ยึดเอาความแตกต่างเหล่านั้นมาเป็นเงื่อนไขในการจำแนกความแตกต่างทางคุณค่าหรือศักดิ์ศรีของมนุษย์ (เช่น ไม่ถือว่าคนรวยมีคุณค่าความเป็นคนมากกว่าคนจน ฯลฯ) สังคมก็ยังอาจรักษาอุดมการณ์ มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกันเอาไว้ได้
เช่น ไม่ว่าคนจนคนรวยก็ต้องเสมอภาคกันภายใต้กฎหมาย ถูกตั้งคำถาม ตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ได้ และวาง ระบบที่ทำให้ทุกคนในฐานะสมาชิกแห่งสังคมประชาธิปไตยได้เข้าสู่เวทีการต่อรองในเรื่องอำนาจและผลประโยชน์อย่างเสมอภาค (มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ถ้าเชื่อในเรื่องอภิสิทธิชนตามข้อ 1 จะไม่มีทางเป็นไปได้เลย)

ดังนั้น ก้าวต่อไปของประชาธิปไตยในบ้านเรา จึงต้องเผชิญกับสิ่งท้าทายสำคัญอยู่ 2 เรื่องหลักๆ คือ
1.เราจะสลายความเชื่อหรืออุดมการณ์ยอมรับอำนาจพิเศษของอภิสิทธิชน ด้วยการสร้างรัฐธรรมนูญใหม่และวัฒนธรรมใหม่ที่ตั้งมั่นอยู่บนหลักการ มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกันได้อย่างไร โดยประชาชนไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ
2.เราจะจัดการกับปัญหาช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคมที่ไม่เป็นธรรมอย่างไร จึงจะทำให้เกิดสังคมที่มีการกระจายสิทธิ อำนาจ และผลประโยชน์ในด้านต่างๆ อย่างเป็นธรรม หรือทำอย่างไรที่ประชาชนในทุกชนชั้นทางเศรษฐกิจ สังคม จะสามารถขึ้นสู่เวทีต่อรองในเรื่องอำนาจและผลประโยชน์ หรือมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะต่างๆ อย่างเท่าเทียมมากขึ้น
ก็ได้แต่ฝากปัญหาให้ช่วยกันคิดหาทางแก้นะครับ เพราะเป็นปัญหาที่ผมเองก็จนด้วยเกล้าจริงๆ
 .........................................................................................................................................................................
[1] http://www.thaipost.net/news/180309/1893
[2] ขอยืมความหมายจากข้อความในโพสต์ของ อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ที่ว่า ประชาธิปไตย นั้น ก่อนอื่นที่สุด คือความเชื่ออย่างลึกซึ้งว่า คนเท่าเทียมกัน ไม่มีใครเป็นเทวดากว่าคนอื่น” (ดู
http://www.prachatai.com/node/25214/talk)

3.  น้ำชา... กาแฟ ผลเสียผลดีต่อสุขภาพ


               ในทางการแพทย์พบว่า เครื่องดื่มประเภทน้ำชากาแฟ เป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์เพราะสาร
คาเฟอีน ใน ชา กาแฟมีผลเสพติดอ่อนๆคือดื่มแล้วจะติด พอเวลาไม่ได้ดื่มจะหงุดหงิด มือสั่น ใจสั่น
 
สารคาเฟอีนนี้มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ซึ่งนอกจากนี้ยังเป็นส่วนผสมของยาประเภท ลดไข้บรรเทาปวดอีกด้วย
      ผู้ที่ได้รับคาเฟอีนมากเท่าไร ผลร้ายที่มีต่อร่างกายก็มีมากขึ้นเท่านั้น เมื่อคาเฟอีนเข้าสู่ร่างกาย จะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ แล้วกระจายไปตามอวัยวะต่างๆ เช่นสมอง หัวใจ ตับ ปอด กล้ามเนื้อต่างๆ และระบบประสาทส่วนกลาง ร่างกายจะใช้เวลากว่า 48 ชั่วโมง ในการสลายคาเฟอีน 
      ถ้าร่างกายได้รับ คาเฟอีนจำนวนสูงประมาณ 3,000 - 10,000 มิลลิกรัม จะทำให้ตายในระยะอันสั้นได้ ถ้าเราดื่มกาแฟประมาณ 1/2 - 2 1/2 ถ้วย (50 - 200 มิลลิกรัม) ลดความเมื่อยล้าได้ประมาณครึ่งวัน หรือดื่มกาแฟขนาด 3 - 7 ถ้วย (200 - 500 มิลลิกรัม) ทำให้มือสั่น กระวนกระวายโกรธง่าย และปวดศรีษะ มีผลต่อหัวใจและเส้นเลือดคลายตัวหรือบีบรัดมากขึ้นเป็นบางแห่ง กระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจ อาจเพิ่มลดอัตราการเต้นของหัวใจ อันตรายต่อผู้ป่วยที่ดื่มกาแฟมากๆ จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นหย่อมๆ คาเฟอีนมีผลทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ไตรกลีเซอร์ไรด์สูงกรดไขมันอิสระสูง จึงไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีไขมัน ในเลือดสูง ฤทธิ์ของคาเฟอีนเพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ จึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตไม่ทำงาน
      ผู้ที่ดื่มกาแฟ น้ำชา หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนผสมอยู่ รวมถึงการใช้ยาที่มีคาแฟอีนผสมอยู่รวมถึงการใช้ยาคาเฟอีนจนติดเป็นนิสัย จึงมีระดับคงทนต่อฤทธิ์คาเฟอีนสูงขึ้น โดยที่คาเฟอีนจะมีฤทธิ์ต่อร่างกายน้อยกว่าปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการของประสาทตื่นตัว ปวดศีรษะ และปวดกระเพาะ ความทนทานนี้จะลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้น การหยุดดื่มกาแฟจะมีผลทำให้ปวดศีรษะ กระวนกระวายโกรธง่าย และไม่สนใจ สิ่งแวดล้อม
 
      สำหรับสตรีมีครรภ์นั้นไม่ควรดื่ม ชา กาแฟ โดยเด็ดขาด ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าคนเราควรได้รับคาเฟอีนไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเท่ากับประมาณ 2 ถ้วย ( คือ กาแฟ 1 ถ้วย ใส่ผงกาแฟสำเร็จรูป 2 ช้อนชา น้ำประมาณ 1 ถ้วย) เวลาที่เหมาะสมจะดื่มชากาแฟนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน บางคนดื่มตอนเช้าเพื่อให้ลำไส้กระปรี้กระเปร่า ถ่ายสะดวก แต่จะทำให้หิวเร็วกว่าปกติ เพราะกาแฟจะกระตุ้นการหลั่งของน้ำย่อยเพราะฉะนั้นไม่ควรดื่มกาแฟแทนอาหารเช้า และ หันมาดื่มนมแทนจะดีกว่า ถ้าคนที่นอนหลับยาก หรือมีภาระกิจต้องตื่นแต่เช้า ก็ไม่ควรดื่มกาแฟหลังอาหารเย็นวันนั้น จะเห็นว่ากาแฟนั้นมีทั้งผลดีผลร้ายกับร่างกาย ดังนั้นผู้ที่ไม่ได้อยู่ในข่ายต้องห้าม ก็อาจดื่มเป็นประจำทุกวันได้ แต่ต้องกำจัด ปริมาณให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม
ที่มา
  :   กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




นิทาน ชาดก เวลาเป็นสิ่งล้ำค่า